โปรโมทบล็อก SEO network

Posts tagged ‘แข่งขัน SEO’

ประวัติความเป็นมาของเสาชิงช้า

ในกรุงเทพฯมีสถานที่ท่องเที่ยวแห่ง หนึ่งที่อยู่ใกล้ตัวนั่นคือ เสาชิงช้า หลายคนที่อยู่กรุงเทพจะรู้จักว่าตั้งอยู่ที่ใดแต่น้อยคนที่จะรู้ถึงประวัติ ความเป็นมาของเสาชิงช้าแห่งนี้

สถานที่ท่องเที่ยว เสาชิงช้า

เสา ชิงช้านั้นมีความเกี่ยวข้องทาง ประวัติศาสตร์ของประเทศไทยมาอย่างช้านาน หลังการสถาปนากรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ ขึ้นเป็นราชธานี เมื่อกว่า 200 ปีที่แล้ว

ตามจดหมายเหตุเขอนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์บันทึกไว้ว่า “เสาชิงช้า” ก่อสร้างขึ้นเมื่อวันพุธเดือน 5 แรม 5 ค่ำ ตรงกับวันที่ 8 เมษายน 2327 โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดให้สร้างเทวสถานขึ้นเพื่อใช้เป็นที่สถิตของเทพเจ้า ตามความเชื่อในศาสนาฮินดู พร้อมกันั้นยังโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง “เสาชิงช้า” เพื่อใช้สำหรับประกอบพิธีตรียัมปวาย ซึ่งเป็นพิธีเดือน 12 ที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ไว้ตรงลานด้านเหนือของวัดสุทัศน์เทพวรารามจวบจนปัจจุบัน

พิธีตรียัมปวายเป็นพิธีขึ้นปีใหม่ของศาสนาพราหมณ์ เพื่อรับเสด็จพระอิศวรครั้นลงมาเยือนโลกมนุษย์ในเดือนอ้าย หรือเดือนธันวาคมต่อมากาลเวลาล่วงเข้าสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์จึงได้เปลี่ยน พิธีดังกล่าวมาจัดกันในเดือนยี่หรือเดือนมกราคมของทุกปีแทน โดยพิธีกรรมที่สำคัญคือพิธีโล้ชิงช้า ตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทยจะมีการทำบุญเลี้ยงพระโกนจุกเด็ก สมโภชน์เทวรูป และการจัดมหรสพไปพร้อมกับพิธี  ปัจจุบันพิธีโล้ชิงช้าได้ถูกยกเลิกไปในสมัยพระบาทสมเด็จปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ แต่ทางการก็ยังรักษาเสาชิงช้าไว้เป็นที่ศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองจนถึง ทุกวันนี้

ปัจจุบันด้วยอายุอันเก่าแก่ของเสาชิงช้า ทำให้ทางกรุงเทพมหานครจัดพิธีบูรณะเสาชิงช้าครั้งยิ่งใหญ่ขึ้น เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2550 โดยมีการนำต้นสักทองจำนวน 6 ต้น จากจังหวัดแพร่มาบูรณะปฏิสังขรณ์ โดยต้นหลักที่ 1 มีอายุ 99 ปี ต้นหลักที่ 2 มีอายุ กว่า 120 ปี พร้อมกันนั้นยังได้มีการเพาะพันธ์และขยายพันธ์ไม้มงคลสักทองทั้ง 6 ต้น เพื่อแจกจ่ายแก่ประชาชนทั่วไปให้นำไปปลูกทดแทนไม้สักเดิมที่ถูกตัดโค่นลงอีก ด้วย

Related : เสาชิงช้า มรดกแห่งผืนแผ่นดินสยาม